กิจกรรมเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร

        สถานตรวจสอบภายใน ได้จัดกิจกรรมเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร ตามแผนการดำเนินโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565

        การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรในสถานตรวจสอบภายใน เพื่อให้ผู้ตรวจสอบภายในและบุคลากรภายในหน่วยงานมีการปฏิบัติงาน และมีการควบคุมคุณภาพของการตรวจสอบภายในให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในภาครัฐ รวมทั้งยึดหลักจรรยาบรรณการตรวจสอบภายในภาครัฐ ตามที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังกำหนด นอกจากนี้สถานตรวจสอบภายในยังต้องเข้ารับการประกันคุณภาพการศึกษาอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ด้านนโยบายการดำเนินงานตรวจสอบภายใน
      สถานตรวจสอบภายในมีการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในภาครัฐ รวมทั้งยึดหลักจรรยาบรรณการตรวจสอบภายในภาครัฐ ดังนี้
      1.1 การจัดทำ/ทบทวน กฎบัตร คู่มือ/นโยบายเกี่ยวกับความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรม และการจัดการกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (มาตรฐาน รหัส 1100 ความเป็นอิสระและความเที่ยงธรรม)
         – กฎบัตรของสถานตรวจสอบภายใน
         – นโยบายการและวิธีปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน และวิธีปฏิบัติงานเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่      
         – มาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์และแบบฟอร์มการเปิดเผยข้อมูลความขัดแย้ง
         – รายงานการเปิดเผยข้อมูลความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของผู้ตรวจสอบภายใน

    1.2 การจัดทำ/ทบทวน กรอบคุณธรรม ประกอบด้วย การปฏิบัติตัวและการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายในเกี่ยวกับความเที่ยงธรรม และข้อจำกัดของความเป็นอิสระหรือความเที่ยงธรรม (มาตรฐาน รหัส 1100 ความเป็นอิสระและความเที่ยงธรรม และจรรยาบรรณการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ)
         – กรอบคุณธรรมของสถานตรวจสอบภายใน
         – แบบสำรวจกรอบคุณธรรมของสถานตรวจสอบภายใน
         – รายงานสรุปผลการสำรวจกรอบคุณธรรมของสถานตรวจสอบภายใน

      1.3 การยึดหลักการปฏิบัติตาม จรรยาบรรณการตรวจสอบภายในสําหรบหน่วยงานของรัฐ
      ผู้ตรวจสอบภายใน ต้องพึงประพฤติปฏิบัติตนภายใต้กรอบความประพฤติที่ดีงาม ในอันที่จะนํามาซึ่งความเชื่อมั่น และให้คําปรึกษา อย่างเที่ยงธรรม เป็นอิสระและเปี่ยมด้วยคุณภาพ โดยมีแนวปฏิบัติ และหลักปฏิบัติตาม จรรยาบรรณการตรวจสอบภายในสําหรบหน่วยงานของรัฐ ที่กรมบัญชีกลางกำหนดในแนบท้ายหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสําหรับหน่วยงานของรัฐ ได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความเที่ยงธรรม การปกปิดความลับ และความสามารถ ในหน้าที่

2. ด้านการบริหารงานและการดำเนินงานภายในสถานตรวจสอบภายใน
    2.1 การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศของมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง
           2.1.1 ข้อบังคับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ว่าด้วยจรรยาบรรณของบุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2554
           2.1.2 ข้อบังคับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ว่าด้วยจรรยาบรรณของบุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557
           2.1.3 เรื่อง นโยบายคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (3 ธันวาคม 2563)

    2.2 การบริหารและดำเนินการตามการประกันคุณภาพการศึกษา (EdPEx)
          สถานตรวจสอบภายในมีการกำหนดวิสัยทัศน์ “เป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานตรวจสอบภายในภาครัฐให้เป็นไปตามมาตรฐานของกรมบัญชีกลาง” เพื่อขับเคลื่อนองค์กร และปัจจัยสำคัญที่จะนำองค์กรให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ มีดังนี้
            2.2.1 การกำหนดค่านิยม
                    ส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรทุกคน มีส่วนร่วมกันในการกำหนดค่านิยมองค์กร โดยมีการทบทวนและปรับปรุงเป็นประจำทุกปี โดยเน้นให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
                    ค่านิยม ของหน่วยงานที่กำหนดไว้ 5 ประการ ได้แก่
                    1. การบริการให้ความเชื่อมั่น (Assurance Service)
                    2. การบริการให้คำปรึกษา (Consulting Service)
                    3. ความเที่ยงธรรม (Objectivity)
                    4. ความเป็นอิสระ (Independent)
                    5. มาตรฐานการตรวจสอบภายใน (Standard for Internal Audit)

            2.2.2 การสร้างเสริมวัฒนธรรม ได้แก่
                    1. การมีส่วนร่วมของบุคลากร การทำงานเป็นทีม
                    2. การสร้างความสัมพันธ์ และความคุ้นเคยเป็นกันเองระหว่างผู้ตรวจสอบภายในกับหน่วยรับตรวจ
                    3. การสนับสนุนให้บุคลากรในหน่วยงานผลิตผลงานทางวิชาการใช้ในการปฏิงานตรวจสอบเลื่อนตำแหน่ง ความก้าวหน้าในสายสนับสนุนวิชาการให้สูงขึ้น และเกิดผลงานคู่มือการปฏิบัติงานเกี่ยวกับตรวจสอบภายใน
                    4. การมีส่วนร่วมในการวางแผนสืบทอดตำแหน่ง

            2.2.3 การกำกับดูแลโดยปฏิบัติตามหลักการ ดังนี้
                    1. หลักประสิทธิผล มีการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานภายในหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดให้มีการประชุมหน่วยงานเพื่อติดตามงาน เป็นประจำทุกเดือน
                    2. หลักประสิทธิภาพ มีการส่งเสริมให้บุคลากรในหน่วยงานเข้ารับการฝึกอบรมและร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อให้บุคลากรได้รับการพัฒนาและเพิ่มพูนทักษะ ซึ่งเป็นผลให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
                    3. หลักการตอบสนอง มีการดำเนินงานตามนโยบายของมหาวิทยาลัย โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ตามพันธกิจของหน่วยงานและบริหารจัดการภายใต้แผนปฏิบัติราชการประจำปี และคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี
                    4. หลักภาระรับผิดชอบ มีการจัดทำรายงานผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี รายงานผลการปฏิบัติราชการฯ ประจำปี และรายงานการประเมินตนเอง เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา
                    5. หลักความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้กับทั้งบุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างตรงไปตรงมาผ่านทางเว็บไซด์ของหน่วยงาน
                    6. หลักการมีส่วนร่วม มีการเปิดโอกาสให้บุคลากรในสำนักงานตรวจสอบภายในมีส่วนร่วมในการประชุมเปิด/ปิดตรวจ สัมภาษณ์ผู้บริหาร/บุคลากรที่เกี่ยวข้องของหน่วยงาน (หน่วยรับตรวจ) ภายในมหาวิทยาลัย
                    7. หลักการกระจายอำนาจ มีการมอบหมายอำนาจให้คณะทำงานต่าง ๆ ของหน่วยงาน ทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
                    8. หลักนิติธรรม มีการบริหารงานโดยยึดตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ อย่างเคร่งครัด และยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ
                    9. หลักความเสมอภาค มีการเปิดโอกาสให้บุคลากรในหน่วยงานได้เข้าประชุมร่วมกัน โดยจะมีแนวปฏิบัติในการลงมติในการประชุมเรื่องต่าง ๆ โดยกำหนดสิทธิให้บุคลากรทุกคนแสดงความคิดเห็นเท่าเทียมกัน คือ 1 สิทธิ 1 เสียง
                    10. หลักมุ่งเน้นฉันทามติ มีการเปิดโอกาสให้บุคลากรในหน่วยงานสามารถแสดงความคิดเห็น และมีฉันทามติร่วมกันในการเสนอชื่อฯ และพิจารณาวาระการประชุมต่าง ๆ ในการประชุมของหน่วยงาน

3. ด้านการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบภายใน
        ผู้ตรวจสอบภายในจะต้องได้รับการอบรมให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในวิชาชีพ ไม่ต่ำกว่า 18 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งการเข้ารับการอบรมถือเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงานซึ่งในเนื้อหาการอบรม จะสอดแทรกมาตรฐาน และหลักการปฏิบัติตามจรรยาบรรณด้วย เพื่อให้สามารถรักษาคุณภาพของงานตรวจสอบภายใน นอกจากนี้ผู้ตรวจสอบภายในได้มีการประชุมหารือ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ